โครงงาน

แบบเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์

1.  โครงงานเรื่อง เว็บบล็อกเรื่อง 
      กระถางชีวภาพรักษ์โลก

2.  ชื่อผู้เสนอโครงงาน

      2.1  นางสาวคริษฐา พัฒนวิวัฒน์ เลขที่ 25
      2.2  นางสาวเนตรนภา ย่องหิ้น เลขที่ 18
      2.3  นางสาวภัทราภรณ์ นฤภัย เลขที่ 16

3.  ครูที่ปรึกษาโครงงาน

     คุณครูเชษฐา เถาวัลย์ และคุณครูโสภิตา สังฆะโน

4.  หลักการและเหตุผล

    ปัจจุบันต้นไม้เป็นสิ่งหนึ่งที่จำเป็นมากในการดำรงชีวิตของมนุษย์ เป็นทรัพยากรของโลกที่สำคัญมาก เพราะต้นไม้เป็นที่มาของอากาศบริสุทธิ์ เป็นแหล่งต้นน้ำ ให้ร่มเงาได้ดี เป็นส่วนประกอบในการผลิตอุตสาหกรรมต่างๆมากมาย ทุกวันนี้สภาพอากาศในโลกของเราทุกวันนี้มีมลพิษมากมายที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและต้นไม้สามารถช่วยลดมลพิษเหล่านั้นได้ตามธรรมชาติ หลายๆองค์กรรณรงค์ให้มีการปลูกต้นไม้ เพื่อทดแทนต้นไม้ที่ถูกตัดมาใช้ ทำให้เห็นว่าทุกที่มีในโลกหรือในประเทศเรามีการปลูกต้นไม้มากขึ้น
     การปลูกต้นไม้บางครั้งต้องซื้อต้นไม้มาจากร้านขายต้นไม้เพราะสะดวกและรวดเร็วหรือเพาะเองลงในถุงดำเล็กๆก่อน เมื่อต้นไม้โตพอที่จะย้ายลงดิน ก็จะนำถุงพลาสติกสีดำที่หุ้มต้นไม้ทิ้งไป ลองสังเกตดูว่าทุกที่จะทำเช่นนี้เพราะถุงพลาสติกสีดำจะทำให้นำต้นไม้ลงดินได้ง่าย และลองคิดดูว่าปริมาณถุงดำที่เราต้องทิ้งไปมีปริมาณมากเพียงใด และระยะเวลาที่ถุงพลาสติกแต่ละถุงจะย่อยสลายไปเองจะใช้เวลานานเท่าใด เราทุกคนต่างทราบดีว่าพลาสติกใช้เวลาย่อยสลายประมาณ ๕๐๐ ปี ดังนั้นการหันมาใช้กระถางชีวภาพก็เป็นอีกทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่ง ที่จะลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติก และนำวัสดุเหลือใช้ที่หาได้ง่ายมาใช้อย่างคุ้มค่าที่สุด กระถางชีวภาพเป็นการต่อยอดมาจากกระถางประดิษฐ์ ซึ่งเดิมเป็นเพียงกระถางธรรมดาที่ทำขึ้นจากเศษกระดาษผสมกับกาวแล้วปั่นรวมนำมาขึ้นรูป ซึ่งยังมีส่วนผสมของกาวที่เป็นสารเคมี แต่กระถางชีวภาพจะเป็นกระถางที่ทำขึ้นเองโดยใช้วัสดุจากธรรมชาติเป็นส่วนประกอบ เช่น เปลือกผลไม้ เนื้อผลไม้ เป็นต้น รวมถึงการเปลี่ยนวัสดุที่ใช้จากกาวเป็นแป้งมันที่จะให้ความเหนียวแทนกาว ไม่มีสารเคมี ซึ่งวัสดุทั้งหมดที่ใช้ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม
  ต้นไม้ที่ปลูกในกระถางชีวภาพ เมื่อโตแล้วสามารถนำลงดินได้เลยโดยไม่ต้องเอากระถางออก เมื่อต้นไม้โตขึ้นกระถางก็จะย่อยสลายไปเองตามธรรมชาติ กระถางชีวภาพอาจมีข้อเสียในเรื่องการเตรียมการ การใช้เวลาในการทำ ซึ่งยุ่งยากกว่าการใช้ถุงพลาสติก แต่เมื่อเปรียบเทียบในเรื่องความประหยัด ความคุ้มค่า การอนุรักษ์ธรรมชาติแล้ว ข้อเสียของการทำกระถางชีวภาพก็กลายเป็นเรื่องง่ายๆที่เราทำได้ และนอกจากนี้ทำกระถางชีวภาพอาจนำไปสร้างรายได้เสริมได้อีกด้วย
 การนำเอารูปแบบของการ์ตูนที่เรียกว่าแอนิเมชันมานำเสนอวิธีการทำและการใช้เว็บบล็อกนำเสนอกระถางชีวภาพ เป็นการนำเอาสื่อเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์และดูน่าสนใจ ให้ผู้ที่สนใจสามารถค้นหาข้อมูลได้อย่าง ถูกต้อง และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เพราะเว็บบล็อกได้แยกสาระสำคัญต่างๆออกเพื่อให้ค้นหาได้ง่าย รวมถึงสามารถปรังปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันได้ดี ผู้ที่สนใจสามารถรับข้อมูลข่าวสารได้เร็วและสะดวกสบายและให้ผู้ที่สนใจสอบถามปัญหาที่สงสัยได้โดยตรง

5.  หลักการ ทฤษฏีและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

      5.1  Blog (บล็อก) บล็อกมาจากการผสมคำระหว่าง WEB (World Wide Web) +LOG (บันทึก) = BLOG  คือเว็บไซต์ที่เจ้าของ หรือ Blogger สามารถบันทึกเรื่องราวของตนเองลงในเว็บได้ตลอดเวลา การสร้างเว็บบล็อกสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง ไม่ซับซ้อน ไม่เสียเงิน ไม่จำเป็นต้องรู้ภาษา HTML อย่างน้อยมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์ก็เพียงพอแล้ว
      บล็อก คือ สื่อใหม่ (New Media) เป็นปรากฏการณ์ที่เปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารในอดีตอย่างสิ้นเชิง ผู้เขียนบล็อกสามารถทำหน้าที่เป็นสื่อด้วยตัวเอง ไม่จำเป็นต้องอาศัยสื่อมวลชน โดยสามารถสื่อสารกันเองได้ในกลุ่มเล็กๆหรือกลุ่มใหญ่ก็ได้ มีทั้งกลุ่มสาธารณะไปจนถึงกลุ่มเฉพาะสำหรับผู้คนที่มีความชื่นชอบในสิ่งเดียวกัน เช่น ดารา นักร้อง การท่องเที่ยว งานอดิเรก เป็นต้น
  ในบางมุมมองถือว่าการเขียนบล็อกคือการเขียนไดอารี่ออนไลน์ ที่สามารถใส่ความรู้ ประสบการณ์ ทัศนคติ รวมถึงการแบ่งปันรูปถ่าย ภาพเคลื่อนไหวหรือวิดีโอให้ผู้อื่นได้รับชม เช่น คุณหมอ เปิดบล็อกแนะนำเรื่องสุขภาพ เป็นต้น ภายในเว็บบล็อก จะมีระบบบริหารจัดการเว็บไซต์พื้นฐานให้แล้ว โดยการสร้างเครื่องมือสำหรับ เขียนบทความ แบ่งปันรูป จัดหมวดหมู่ และความสามารถอื่นๆ ที่ผู้จัดทำพยายามสร้างเพื่อดึงดูดผู้คนจากทั่วโลก ให้เข้าไปใช้บริการ นอกจากนี้ผู้เขียนที่ความรู้ด้านโปรแกรมยังสามารถปรับแต่งบล็อกขั้นสูงในรูปแบบของตนเองได้อีกด้วย เสน่ห์ของบล็อกอยู่ที่ผู้อ่านและผู้เขียนสามารถโต้ตอบกันได้ (Interactive) โดยการแสดงความคิดเห็นต่อท้ายที่เรื่องนั้นๆ โดยที่ผู้เขียนหรือเจ้าของบทความสามารถเลือกได้ว่าต้องการให้สามารถแสดงความคิดเห็นได้หรือไม่ เป็นการป้องกันการรบกวนที่ไม่จำเป็น
     5.2  แอนิเมชัน Animation การสร้างภาพเคลื่อนไหว โดยการนำภาพนิ่งหลายๆภาพที่มีความต่อเนื่อง  มาฉายด้วยความเร็วที่เหมาะสมทำให้เกิดภาพลวงตาของการเคลื่อนไหว ประเภทของแอนิเมชันมี 2 แบบคือ 2D Animation คือภาพเคลื่อนไหวแบบ ๒ มิติ มองเห็นทั้งความสูงและความกว้าง ซึ่งจะมีความเหมือนจริงพอสมควร และในการสร้างจะไม่สลับซับซ้อนมากนักตัวอย่างเช่น การ์ตูน One Piece, โดราเอมอน หรือ ภาพเคลื่อนไหวที่ปรากฏตามเว็บต่างๆ รวมทั้ง Gif Animation และ 3D Animation คือ ภาพเคลื่อนไหวแบบ ๓ มิติ มองเห็นทั้งความสูงความกว้าง และความลึก ภาพที่เห็นจะมีความสมจริงมากถึงมากที่สุด เช่น ภาพยนตร์เรื่อง Toy Story, NEMO เป็นต้น
    5.3 ภาษา HTML HTML ย่อมาจากคำว่า Hypertext Markup Language พัฒนามาจากภาษา SGML (Standard Generalized Markup Language) โดย นาย Tim Berners - Lee เป็นภาษามาตรฐานที่ใช้พัฒนาเอกสารในรูปแบบของเว็บเพจ (Web page) บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การเรียกใช้เอกสารเหล่านี้ทำได้โดยการใช้โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ (Web Browser) เช่น Mosaic , Opera , Nescape navigator , Internet Explorer ฯลฯ เรียกดูแฟ้มที่สร้างด้วยภาษา HTML ข้อดีของ HTML คือสามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ และระบบปฏิบัติการได้หลากหลายชนิด
  แฟ้มข้อมูลที่เขียนด้วยภาษา HTML นั้นจะมีการนำคำสั่ง HTML ที่เรียกว่า แท็ก (Tag) มากำหนดลักษณะและรูปแบบของเอกสารที่แสดงบนจอภาพ แท็ก (Tag) ประกอบด้วย เครื่องหมายน้อยกว่า (<) ตามด้วยชื่อแท็ก ปิดท้ายด้วยเครื่องหมายมากกว่า (>) เช่น <HTML>, <HEAD>, <BODY> ชื่อแท็กนั้นอาจจะเป็นตัวเล็กหรือตัวใหญ่ก็ได้ แท็กในภาษา HTML 
  5.4 เวิลด์ไวด์เว็บ World Wide Web หรือที่เรามักเรียกสั้นๆว่า Web หรือ W3 (WWW) คือ คอมพิวเตอร์ส่วนหนึ่งบนอินเตอร์เน็ตที่ถูกเชื่อมต่อกันในแบบพิเศษที่ทำให้คอมพิวเตอร์เหล่านั้นสามารถเข้าถึงข้อมูลเนื้อหาที่เก็บไว้ภายในของแต่ละเครื่องได้ (กลายเป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่) โดยผ่านทาง บราวเซอร์ (Browser)ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ประเภทหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้อ่านและตอบโต้ข้อมูลต่างๆที่มีอยู่ใน World Wide Web โดยเฉพาะ บราวเซอร์ที่พบเห็นได้มากที่สุดในปัจจุบัน ได้แก่ Internet Explorer ของ และ Firefox 
      การนำเสนอข้อมูลในระบบ WWW (World Wide Web) พัฒนาขึ้นมาในช่วงปลายปี ๑๙๘๙ โดยทีมงานจาก ห้องปฏิบัติการทางจุลภาคฟิสิกส์แห่งยุโรป (European Particle Physics Labs) หรือที่รู้จักกัน ในนาม CERN (Conseil European pour la Recherche Nucleaire) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และได้มี การพัฒนา ภาษาที่ใช้สนับสนุน การเผยแพร่เอกสารของนักวิจัย หรือเอกสารเว็บ (Web Document) จากเครื่องแม่ข่าย (Server) ไปยังสถานที่ต่างๆ ในระบบ WWW เรียกว่า ภาษา HTML (HyperText Markup Language)
        การเผยแพร่ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ผ่านสื่อประเภทเว็บเพจ (Web Page) เป็นที่นิยมกันอย่างสูงในปัจจุบัน ไม่เฉพาะข้อมูลโฆษณาสินค้า ยังรวมไปถึงข้อมูลทางการแพทย์ การเรียน งานวิจัยต่างๆ เพราะเข้าถึงกลุ่มผู้สนใจได้ทั่วโลก ตลอดจนข้อมูลที่นำเสนอออกไป สามารถเผยแพร่ ได้ทั้งข้อมูลตัวอักษร ข้อมูลภาพ ข้อมูลเสียง และภาพเคลื่อนไหว มีลูกเล่นและเทคนิคการนำเสนอ ที่หลากหลาย อันส่งผลให้ระบบ www. เติบโตเป็นหนึ่ง ในรูปแบบบริการ ที่ได้รับความนิยมสูงสุดของ ระบบอินเทอร์เน็ต
       ลักษณะเด่นของการนำเสนอข้อมูลเว็บเพจ คือ สามารถเชื่อมโยงข้อมูลไปยังจุดอื่นๆ บนหน้าเว็บได้ ตลอดจนสามารถเชื่อมโยงไปยังเว็บอื่นๆในระบบเครือข่ายอันเป็นที่มาของคำว่า HyperTextหรือข้อความที่มีความสามารถมากกว่าข้อความปกตินั่นเองจึงมีลักษณะคล้ายกับว่าผู้อ่านเอกสารเว็บ สามารถโต้ตอบกับเอกสารนั้นๆ ด้วยตนเอง ตลอดเวลาที่มีการใช้งาน


6.  วัตถุประสงค์ของโครงงาน
     6.1  เพื่อศึกษาการทำกระถางชีวภาพจากวัสดุธรรมชาติและนำเสนอในรูปแบบของบล็อก
     6.2  เพื่อค้นคว้าและทดลองการทำกระถางชีวภาพจากส่วนผสมต่างชนิดกัน
     6.3  เพื่อศึกษาผลจากการใช้กระถางชีวภาพ
     6.4  เพื่อใช้สื่อเทคโนโลยีในการนำเสนองาน
     6.5  เพื่อจัดทำเว็บบล็อกเรื่องกระถางชีวภาพ

7.  ขอบเขตการดำเนินงาน
     7.1  รวบรวมข้อมูล แนวทางการทำกระถางชีวภาพที่เกี่ยวข้องจากแหล่งข้อมูลต่างๆ 
     7.2  เวลาของการดำเนินการคือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555
     7.3  แหล่งค้นคว้าคือ ห้องสมุด อินเทอร์เน็ต

     7.4  การ์ตูนแนะนำวิธีการผลิต แล้วนำเผยแพร่ลงสื่อทางอินเทอร์เน็ต       
     7.5  เว็บบล็อกเพื่อนำเสนอผลงานทางอินเทอร์เน็ต     

8.  เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา
     8.1  เว็บบล็อกจาก Blogspot เพื่อนำเสนอผ่านทางสืออินเทอร์เน็ต 
     8.2  โปรแกรม Photoshop ใช้สำหรับตัดต่อและตกแต่งรูปภาพ 
     8.3  โปรแกรม Proshow ใช้สำหรับตัดต่อวีดิโอ
8.4  โปรแกรม foemat factory ใช้สำหรับแปลงไฟล์วีดิโอ
     8.5  โปรแกรม flash ใช้ทำภาพเคลื่อนไหว

9.  ขั้นตอนวิธีการดำเนินงาน


วัน/เดือน/ปี
รายละเอียดกิจกรรม
๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕๖ ธันวาคม ๒๕๕๕
- กำหนดหัวข้อโครงงาน
- ปรึกษาครูที่ปรึกษาโครงงาน
๖ ธันวาคม ๒๕๕๕๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
- เสนอโครงร่างโครงงาน บทที่ ๑
- ปรับ/แก้ไขโครงร่างโครงงาน บทที่ ๑
- ร่างรูปแบบการทดลอง
๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๕ – ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๕
- รวบรวมข้อมูล/สร้างเว็บบล็อก
- ทำการทดลองสร้างกระถางครั้งที่ ๑
- ทดลองปลูกต้นไม้ในกระถางการการทดลองครั้งที่ ๑
- ปลูกต้นไม้ในกระถางปกติ ๑ เพื่อเปรียบเทียบ
- แสดงความคืบหน้าการทดลองในเว็บบล็อก
- ร่างรูปแบบแอนิเมชันประกอบโครงงาน
- สรุปข้อมูลนำมาเขียนบทที่ ๒
- ประชุมสมาชิกเพื่อเตรียมการทดลองในขั้นต่อไป
๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๕ – ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๕
- เก็บข้อมูลการเจริญเติบโตของต้นไม้จากกระถางทดลองที่ ๑
- เก็บข้อมูลการเจริญเติบโตของต้นไม้จากกระถางปกติ ๑
- เปรียบเทียบข้อมูลที่ได้จากกระถาง ๑ ทั้งสองรูปแบบ
- สรุปข้อมูลการทดลอง
- เขียนรายงานสรุปผลการทดลอง
- แสดงความคืบหน้าการทดลองในเว็บบล็อก
- เริ่มทำแอนิเมชันตามรูปแบบที่วางไว้
- ร่างบทที่ ๓
- ประชุมสมาชิกเพื่อเตรียมการทดลองในขั้นต่อไป


๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๕ - ๑๕ มกราคม ๒๕๕๖





๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๕ - ๑๕ มกราคม ๒๕๕๖
- ทำการทดลองสร้างกระถางครั้งที่ ๒
- ทดลองปลูกต้นไม้ในกระถางจากการทดลองที่ ๒
- ปลูกต้นไม้ในกระถางปกติ ๒ เพื่อเปรียบเทียบ
- เก็บข้อมูลการเจริญเติบโตของต้นไม้จากกระถางทดลองที่
- เก็บข้อมูลการเจริญเติบโตของต้นไม้จากกระถางปกติ ๒
- เปรียบเทียบข้อมูลที่ได้จากกระถาง ๑ ทั้งสองรูปแบบ
- สรุปข้อมูลการทดลอง
- เขียนรายงานสรุปผลการทดลอง
- เพิ่มแอนิเมชันลงในเว็บบล็อก
- แสดงความคืบหน้าการทดลองในเว็บบล็อก
- ส่งบทที่ ๒ และ ๓ ให้ครูที่ปรึกษาโครงงานตรวจทาน
- ประชุมสมาชิกเพื่อหารือขั้นตอนในครั้งต่อไป
๑๕ มกราคม ๒๕๕๖ – ๑๗ มกราคม ๒๕๕๖
- เปรียบเทียบการทองลองทั้งหมด
- สรุปผลการทดลองทั้งหมด
- เขียนรายงานผลการทดลองทั้งหมด
- ปรับปรุงข้อมูลในเว็บบล็อกให้เป็นปัจจุบัน
- เขียนบทที่ ๔
- เขียนบทที่ ๕
- ประชุมสมาชิกเพื่อเตรียมการนำเสนอในขึ้นตอนสุดท้าย
๒๘ มกราคม ๒๕๕๖ – ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖
- นำข้อมูลผลสรุปการทดลองลงในเว็บบล็อก
- ปรับปรุงข้อมูลในเว็บบล็อกให้เป็นปัจจุบัน
- แก้ไขและตรวจทานความเรียบร้อยครั้งสุดท้าย
- ประชุมสมาชิกเพื่อกำหนดรูปแบบการนำเสนอโครงงาน
๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ – ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖
- จัดทำเล่มจริง
- ประชุมสมาชิกและชี้แจงเรื่องการนำเสนอโครงงาน
๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ – ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖
- นำเสนอโครงงาน
- ประเมินผลโครงงาน


10.  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
       10.1  ประดิษฐ์กระถางชีวภาพจากวัสดุธรรมชาติได้และนำเสนอในรูปแบบของบล็อก
       10.2  ได้กระถางชีวภาพที่มาจากการคิดค้นส่วนผสมเอง
       10.3  สามารถนำผลจากการทดลองใช้กระถางชีวภาพไปใช้ประโยชน์ได้
       10.4  สามารถนำความรู้เรื่องสื่อออนไลน์ สื่อสารสนเทศและเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
       10.5  สร้างผลงานเว็บบล็อกเรื่องกระถางชีวภาพ